top of page
HARRIS CUSTOMIZE SHOES

เจ็บส้นเท้า

เจ็บส้นเท้า เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บส้นเท้าเมื่อยืน เดิน หรือวิ่ง ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการที่พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ โดยจะมีอาการปวดที่ด้านล่างหรือด้านหลังของส้นเท้า และมักเจ็บส้นเท้าแค่ข้างเดียว ยกเว้นบางรายอาจเกิดอาการทั้ง 2 ข้าง ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นและหายเป็นปกติเอง อย่างไรก็ตาม การรักษาจะช่วยทำให้หายเจ็บเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าเจ็บส้นเท้าจะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง แต่ส่งผล กระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้


เจ็บเท้า

อาการเจ็บส้นเท้า

ผู้ป่วยมักเจ็บส้นเท้าเมื่อมีการลงน้ำหนัก ทำให้บางรายเดินขากะเผลก อาจมีอาการเจ็บแปลบ บวมแดง หรือมีรอยฟกช้ำบริเวณส้นเท้า ทั้งนี้ การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินอาจช่วยบรรเทาอาการปวดให้ดีขึ้นได้ แต่การเดินนานเกินไปก็อาจทำให้อาการปวดแย่ลงเช่นเดียวกับการยืดฝ่าเท้า อย่างการเดินขึ้นบันได หรือการเขย่งด้วยปลายเท้า

นอกจากนี้ หากมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์

ปวดเท้ารุนแรง ส้นเท้าบวม และแดงมากขยับนิ้วหรือเท้าขึ้นลงไม่ได้ เดินไม่ปกติชาบริเวณส้นเท้าหรือขา และมีไข้สูงร่วมด้วยสาเหตุของอาการเจ็บส้นเท้า

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บส้นเท้า คือ การที่พังผืดใต้ฝ่าเท้าถูกทำลาย เกิดการอักเสบและตึงตัวมากเกินไป นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บส้นเท้า ดังต่อไปนี้

ปัญหากระดูกและข้อ เช่น

การมีหินปูนที่ส้นเท้า (Heel Spur)โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)เนื้องอกที่กระดูก (Bone Tumor)กระดูกนูนที่ส้นเท้า (Haglund's Deformity)การบวมอักเสบของข้อต่อ (ฺBurstis)กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)โรคพาเจ็ต ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของกระดูก (Paget's Disease of Bone)โรคข้ออักเสบรีแอคตีฟ (Reactive Arthritis)กระดูกหักล้า (Stress Fractures)ปัญหาจากเส้นเอ็นและพังผืดใต้ฝ่าเท้า เช่นพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis)เอ็นร้อยหวายอักเสบ (ฺAchilles Tendinitis)เอ็นร้อยหวายฉีกขาด (Achilles Tendon Rupture)การกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อเท้า (Tarsal Tunnel Syndrome)นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่นการใช้งานฝ่าเท้าหนักเกินไป และการลงน้ำหนักบนส้นเท้าตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง การยืน หรือการนั่งเป็นเวลานานการมีเอ็นร้อยหวายที่ตึง หรือมีความเครียดเกิดขึ้นที่เส้นเอ็นมาก ๆ ทำให้งอข้อเท้าลำบาก และทำให้ส้นเท้าบาดเจ็บได้การวิ่งบนพื้นผิวถนนที่มีความหยาบ เช่น การวิ่งบนถนนคอนกรีต เป็นต้นการใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองรับการกระแทกที่ไม่มีประสิทธิภาพการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้มีการลงน้ำหนักบนส้นเท้ามาก เป็นสาเหตุให้ส้นเท้าตึงและเมื่อยล้ามากกว่าเดิมการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส  เชื้อรา เป็นต้นเส้นประสาทอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากเส้นประสาทโดยตรงหรือเป็นผลแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆผู้ป่วยมีโรคประจำตัว โรคที่เป็นสาเหตุทำให้เจ็บส้นเท้าที่พบได้บ่อย คือ โรคเบาหวาน โรคเก๊าท์ผู้ป่วยหลายรายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เชื่อว่าอาการเจ็บส้นเท้าเกิดขึ้นจากกระดูกงอก แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่มีกระดูกงอกออกมาจากกระดูกส้นเท้านั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยทุกรายมีอาการเจ็บส้นเท้า

การวินิจฉัยอาการเจ็บส้นเท้า

แพทย์จะวินิจฉัยอาการเจ็บส้นเท้าด้วยการตรวจร่างกาย สังเกตจากเท้าว่ามีรอยแดง แผล อาการบวมพอง รอยฟกช้ำหรือไม่ ให้ผู้ป่วยลองขยับเท้าเพื่อดูอาการ ซักถามประวัติการใช้ยา อาการปวด หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจเป็นสาเหตุให้เจ็บส้นเท้าได้ เช่น การยืนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน การออกกำลังกายที่หนักเกินไป นอกจากนี้อาจตรวจส่วนอื่น ๆ เพิ่มเพื่อดูโรคที่ปรากฏร่วม กรณีที่วินิจฉัยหาสาเหตุไม่ได้ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการเอกซ์เรย์ส้นเท้า และการอัลตราซาวด์ฝ่าเท้า เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป

การรักษาอาการเจ็บส้นเท้า

การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บส้นเท้า ซึ่งอาจจะต้องใช้วิธีการรักษาแตกต่างกันไป กรณีที่อาการไม่รุนแรงมาก อาจใช้ยา หรือออกกำลังกายด้วยการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ยืดเส้น และทำกายภาพบำบัด  

นอกจากนี้ การรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นต่อไปนี้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บส้นเท้าให้ดีขึ้นได้

รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาลดอาการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน ยา 2 ชนิดนี้มีประสิทธิภาพดีกว่ายาแก้ปวดทั่ว ๆ ไป หากรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดยาเพื่อบรรเทาปวดการทาครีมหรือเจล ที่มีส่วนผสมของยาลดอาการอักเสบลงบนส้นเท้า และการใช้ถุงน้ำแข็งประคบลงบนเท้าเป็นเวลา 15-20 นาที ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกันพักการใช้เท้า ควรหยุดพักการใช้เท้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการวิ่ง การเดินและการเหยียดฝ่าเท้าที่มากเกินไป แต่การเดินและการออกกำลังกายเบา ๆ สามารถทำได้การออกกำลังกาย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการเจ็บส้นเท้ามักจะมีเส้นเอ็นร้อยหวายที่ตึงการออกกำลังกายด้วยการยืดเส้นเอ็นร้อยหวายและเส้นเอ็นฝ่าเท้าเบา ๆ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บส้นเท้าได้รองเท้าและแผ่นรองส้นเท้า ผู้มีอาการเจ็บส้นเท้าไม่ควรเดินเท้าเปล่า ควรเลือกซื้อรองเท้าที่มีแผ่นรองเท้า แผ่นกันกระแทก หรือแผ่นรองเสริมอุ้งเท้า และควรใส่แผ่นรองเหล่านี้ในรองเท้าตลอดเวลาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บส้นเท้าหากใช้วิธีการรักษาดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ได้ผลควรไปพบแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษาอื่น ๆ เช่น การฉีดยาระงับอาการปวด และการผ่าตัด กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บส้นเท้าเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุ ด้วยการซักถามอาการเจ็บส้นเท้าของผู้ป่วย ประวัติการใช้ยา การรักษา และจะตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่ค้นพบว่าอาการเจ็บส้นเท้าไม่ได้เกิดจากการอักเสบแต่มีสาเหตุจากอาการเหล่านี้ส้นเท้าบวมและแข็ง ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคข้ออักเสบมีไข้สูง และรู้สึกร้อนที่เท้า ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะกระดูกอักเสบติดเชื้ออาการชาหรืออาการเจ็บแปลบ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทต่าง ๆ ในเท้าและขาถูกทำลายภาวะแทรกซ้อนของอาการเจ็บส้นเท้า

ผู้ป่วยเจ็บส้นเท้าอาจมีอาการเหน็บชา อาการบวมแดง รอยเขียวช้ำ และอาการปวดแบบแปลบร้าวเกิดร่วมได้ หากปล่อยทิ้งไว้นานและไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยเจ็บส้นเท้าเรื้อรังได้ และส่งผลกระทบต่อการเดินทำให้เดินกะเผลก จนเกิดปัญหาอื่น ๆ ที่เท้าตามมาได้ นอกจากนี้ เจ็บส้นเท้าเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บที่สะโพก ข้อเข่า และหลังได้

การป้องกันอาการเจ็บส้นเท้า

ผู้ป่วยป้องกันอาการเจ็บส้นเท้าได้ ด้วยการตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย เพื่อประเมินผลการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อต่ออักเสบ และโรคที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทที่ถูกทำลายด้วยโรคเบาหวาน ควรรักษาให้หายก่อนออกกำลังกาย

นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อป้องกันอาการเจ็บส้นเท้า

ผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐานควรพยายามลดน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักที่มากเกินไปทำให้มีแรงกดมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความเสียหายกับเท้าและส้นเท้าได้ใส่รองเท้าให้เหมาะสมแก่การใช้งาน เลือกซื้อรองเท้าที่มีแผ่นรองส้นเท้าและมีส่วนเสริมอุ้งเท้า  นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนรองเท้าบ่อย ๆ เนื่องจากรองเท้าที่มีอายุการใช้งานนานเกินไปนั้นแผ่นรองเท้ามักเสื่อมประสิทธิภาพควรยืดฝ่าเท้าเป็นประจำก่อนออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายบนพื้นที่แข็งเกินไป เช่น พื้นถนนที่เป็นคอนกรีต เป็นต้น

ที่มา: https://www.pobpad.com/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2

 
 
 

Comments


Contact

Telephone.088-269-1590

Email.stepsolution@gmail.com

Head Office

141/6 ม.8 ต.หนองควาย 

อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230

© 2023 by Goshoe. Proudly created with Wix.com

bottom of page